ประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือร่องรอยการกระทำของมนุษย์ในอดีตที่หลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน
ประเภทของหลักฐานแบ่งตามลักษณะ
1. หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร คือ หลักฐานที่เป็นตัวหนังสือ เช่น พงศาวดาร หนังสือ จดหมาย
2. หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร คือ หลักฐานที่ไม่ได้เป็นตัวหนังสือ เช่น โบราณวัตถุ ตำนาน ศิลาจารึก
ประเภทของหลักฐานแบ่งตามความสำคัญ
1. หลักฐานชั้นต้น คือ หลักฐานที่มีอยู่ในสมัยที่เกิดเหตุการณ์ หรือหลักฐานที่เขียนหรือสร้างโดยผู้ร่วมเหตุการณ์
2. หลักฐานชั้นรอง คือ หลักฐานที่เกิดขึ้นมาหลังจากเหตุการณ์นั้น เช่น อนุสาวรีย์ของบุคคลสำคัญ
บุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์ และผลงาน
1. สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1
ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของอาณาจักรอยุธยาและทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
2. สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ทรงครองราชย์เป็นเวลายาวนานที่สุดของอาณาจักรอยุธยา ทรงรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง และแยกกิจการของทหารและพลเรือน ยกเลิกเมืองหน้าด่าน
3. สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ถูกนำตัวไปเป็นตัวประกันที่กรุงหงสาวดีครั้งวัยเยาว์ และได้ทรงประกาศอิสรภาพจากพม่า ขณะเป็นพระมหาอุปราช
4. สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เป็นยุคแห่งความก้าวหน้าของกรุงศรีอยุธยาและเป็นยุคทองของวรรณคดี
5. ชาวบ้านบางระจัน
ช่วยกันสร้างค่ายบางระจันขึ้นป้องกันข้าศึก ในที่สุดพม่าได้ระดมยิงปืนใหญ่เข้ามาในค่ายและสามารถตีค่ายได้สำเร็จ วีรกรรมของชาวบ้านบางระจันได้รับการยกย่องให้เป็นวีรชนของชาติ
6. สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ทรงกอบกู้เอกราชและทรงตั้งกรุงธนบุรีเป็นราชธานีใหม่ เนื่องจาก กรุงศรีอยุธยาได้รับความเสียหาย เกินจะซ่อมแซมสภาพแวดล้อมกรุงธนบุรีคล้ายกรุงศรีอยุธยา ที่ตั้งกรุงธนบุรีอยู่ใกล้ทะเลมีประโยชน์ด้านความปลอดภัย